|
|||||||
การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป
หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า
การประหยัดไฟฟ้า ต้องเริ่มจากการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีหลักเกณฑ์ ซึ่งข้อแนะนำต่อไปนี้จะเป็นเครื่องช่วยประเมินคุณค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อ ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาดังนี้
1.ควรทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบเห็นนั้น กินไฟมากน้อยเพียงไร
2.มีความเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่
3.สะดวกในการใช้สอย คงทน ปลอดภัยหรือไม่
4.ภาระการติดตั้ง และค่าบำรุงรักษา
5.พิจารณาคุณภาพ ค่าใช้จ่าย อายุใช้งาน มาประเมินออกมาเป็นตัวเงินด้วย
ปริมาณการกินไฟ (กำลังไฟฟ้า) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ
เครื่องใช้ไฟฟ้า |
กำลังไฟฟ้า (วัตต์) |
พัดลมตั้งพื้น พัดลมเพดาน โทรทัศน์ขาว-ดำ โทรทัศน์สี เครื่องเล่นวิดีโอ ตู้เย็น 7-10 คิว หม้อหุงข้าว หม้อหุงต้มไฟฟ้า หม้อชงกาแฟ เตาไมโครเวฟ เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องทำน้ำอุ่น / ร้อน เครื่องเป่าผม เตารีดไฟฟ้า เครื่องซักผ้าแบบมีเครื่องอบผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องดูดฝุ่น มอเตอร์จักรเย็บผ้า |
20-75 70-100 28-150 80-180 25-50 70-145 450-1500 200-1500 200-600 100-1000 800-1000 2500-12000 400-1000 750-2000 3000 1200-3300 750-1200 40-90
|
การคิดค่ากระแสไฟฟ้า
ตัวอย่าง การคิดค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2
สมมุติในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย
1.ค่าไฟฟ้าฐาน
1.1ค่าพลังงานไฟฟ้า
180 หน่วยแรก 150 x 1.8047 เป็นเงิน 270.705 บาท
250 หน่วยต่อไป 250 x 2.7781 เป็นเงิน 694.525 บาท
เกิน 400 หน่วยต่อไป (500 - 400) x 2.9780 เป็นเงิน 297.80 บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐาน เป็นเงิน 1,303.93 บาท
Ft ที่เรียกเก็บเพิ่มจากค่าไฟฟ้าฐานประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2551 = 68.86 สตางค์ต่อหน่วย
2.ค่าไฟฟ้าผันแปร = 500 x (68.86 / 100) เป็นเงิน 344.30 บาท
รวมค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปร เป็นเงิน 1648.23 บาท
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 เป็นเงิน 115.38 บาท
รวมค่าไฟฟ้าทั้งสิ้น เป็นเงิน 1763.61 บาท
5.1 ไฟฟ้าแสงสว่าง
ข้อแนะนำการใช้งาน
1.ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้
หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลอดนีออน” ลักษณะเป็นหลอดยาวมีขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ หรือชนิดขดเป็นวงกลมมีขนาด 32 วัตต์ (หลอดชนิดนี้จะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ประมาณ 4-5 เท่า ถ้าใช้ปริมาณไฟฟ้าขนาดเท่ากัน อายุการใช้งานของหลอดฟลูออเรสเซนต์จะนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7 เท่า)
2.หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดพิเศษ (หลอดซุปเปอร์)
เป็นหลอดที่กินไฟเท่ากับหลอดผอมแต่ให้กำลังส่องสว่างมากกว่าหลอดทั่วๆไป เช่น หลอดผอมธรรมดาขนาด 36 วัตต์ จะให้ความสว่างประมาณ 2,600 ลูเมน (lm) แต่หลอดซุปเปอร์ให้ความสว่างถึง 3,300 ลูเมน (lm) ซึ่งจะทำให้สามารถลดจำนวนหลอดที่ใช้ลงได้
3.หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ)
หมายถึง หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กที่ได้มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานโดยใช้แทนหลอดไส้ได้ มีอายุการใช้งานมากกว่าหลอดไส้ 8-10 เท่า และใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดไส้โดยจะประหยัดไฟได้ 75-80% (เนื่องจากอายุของหลอดขึ้นอยู่กับสภาพการติดตั้ง เช่น การระบายความร้อนและแรงดันไฟฟ้าด้วย) ปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
3.1 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน ที่เรียกว่าหลอดประหยัดไฟ เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ย่อขนาดลง มีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์รวมอยู่ภายในหลอด สามารถนำไปใช้แทนหลอดไส้ชนิดหลอดเกลียวได้ทันทีโดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ใดๆ มีอยู่หลายขนาด คือ 9 W, 11 W, 13 W, 15 W, 18 W, 20 W ตัวอย่างเปรียบเทียบกับหลอดไส้ธรรมดา เป็นดังนี้
|
ให้แสงสว่าง เท่ากับหลอดไส้ |
|
9 W 13 W 18 W 25 W |
|
40 W 60 W 75 W 100 W |
3.2 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก หลักการใช้งานเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน แต่หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอกสามารถเปลี่ยนหลอดได้ง่ายเมื่อหลอดชำรุดตัวหลอดมีลักษณะงอโค้งเป็นรูปตัวยู (U) ภายในขั้วของหลอดจะมีสตาร์ทเตอร์อยู่ภายใน และมีบัลลาสต์อยู่ภายนอกมีหลายขนาด คือ
|
ให้แสงสว่าง เท่ากับหลอดไส้ |
|
5 W 7 W 9 W 11 W |
|
25 W 40 W 60 W 75 W |
ข้อควรปฏิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้าแสงสว่าง มีดังนี้
1.ปิดสวิตช์ไฟ เมื่อไม่ใช้งาน
2.ในบริเวณที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่างมากนัก เช่น เฉลียง ทางเดิน ห้องน้ำ ควรใช้หลอดที่มีวัตต์ต่ำ โดยอาจใช้หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน เนื่องจากมีประสิทธิภาพการให้แสงง ลูเมน / วัตต์ (lm / W)สูงกว่าหลอดไส้ และดีกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดไม่เกิน 18 วัตต์ ด้วย
สำหรับบริเวณที่ต้องการแสงสว่างปกตินั้นหลอดผอมขนาด 36 วัตต์ จะมีประสิทธิภาพการให้แสง (ลูเมน/วัตต์) สูงกว่าหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในทั่วไปไม่ต่ำกว่า 10 % และยิ่งจะมีประสิทธิภาพการให้แสงมากขึ้น ถ้าเป็นหลอดผอมชนิดซุปเปอร์และใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟร่วมด้วย
ดังนั้นจำนวนหลอดไฟที่ใช้และการกินไฟของหลอดผอมจะน้อยกว่าหลอดประหยัดไฟ
3.หมั่นทำความสะอาดขั้วหลอด และตัวหลอดไฟ รวมทั้งโคมไฟและโป๊ะไฟต่างๆ
4.ผนังห้องหรือเฟอร์นิเจอร์อย่าใช้สีคล้ำๆ ทึบๆ เพราะสีพวกนี้จะดูดแสง ทำให้ห้องดูมืดกว่าห้องที่ทาสีอ่อนๆ เช่น สีขาว หรือสีขาวนวล
5.เลือกใช้โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีแผ่นสะท้อนแสงทำด้วยอะลูมิเนียมเคลือบโลหะเงินจะสามารถลดจำนวนหลอดไฟลงได้ โดยแสงสว่างยังคงเท่าเดิม
6.เลือกใช้ไฟตั้งโต๊ะ ในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างเฉพาะแห่ง เช่น อ่านหนังสือ
7.ใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้าควบคู่กับหลอดฟลูออเรสเซนต์
โดยบัลลาสต์ประหยัดไฟมี 2 แบบ คือ
7.1แบบแกนเหล็กประหยัดไฟฟ้า (LOW – LOSS MAGNETIC BALLAST)
7.2แบบอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC BALLAST)
8.ในการเลือกซื้อหลอดไฟ โดยเฉพาะหลอดฟลูออเรสเซนต์นั้น ให้สังเกตปริมาณการส่องสว่าง(ลูเมน หรือ lm ) ที่กล่องด้วย เนื่องจากในแต่ละรุ่นจะมีค่าลูเมนไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีราคาแตกต่างกัน เช่น หลอดผอม 36 หรือ 40 วัตต์จะให้แสงประมาณ 2,000-2,600 ลูเมน หลอดชนิดซุปเปอร์จะให้แสง 3,300 ลูเมน หลอดประหยัดไฟขนาด 11 วัตต์ (หลอดคอมแพคขนาด 11 วัตต์ หรือหลอดตะเกียบ) จะให้แสงประมาณ 500-600 ลูเมน เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงการกินไฟภายในบัลลาสต์ด้วย ซึ่งบัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดาจะกินไฟมากส่วนบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์จะกินไฟน้อยมาก
ประโยชน์ของบัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้า
**บัลลาสต์ธรรมดากินไฟ ประมาณ 10-12 วัตต์ บัลลาสต์ประหยัดไฟกินไฟประมาณ 3-6 วัตต์
**บัลลาสต์ธรรมดามีประสิทธิผลการส่องสว่าง 95-110% บัลลาสต์ประหยัดไฟมีค่าประสิทธิผลการส่องสว่าง 95-150%
**การใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟช่วยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีอุณหภูมิขณะทำงานไม่เกิน 75 องศาเซลเซียส ในขณะที่บัลลาสต์ธรรมดามีความร้อนจากขดลวดและแกนเหล็กถึง 110-120 องศาเซลเซียส
**บัลลาสต์ประหยัดไฟมีอายุการใช้งานมากกว่าแบบธรรมดา 1 เท่าตัว แม้ราคาจะสูงกว่าบัลลาสต์แบบธรรมดา
คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง
1.เมื่อจะเปลี่ยนหลอดควรดับหรือปลดวงจรไฟฟ้าแสงสว่างนั้น
2.สังเกตบัลลาสต์ว่ามีกลิ่นเหม็นไหม้ หรือรอยเขม่าหรือไม่
3.ถ้าเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่ควรปล่อยให้ไฟกระพริบอยู่เสมอ หรือหัวหลอดแดงโดยไม่สว่าง เพราะอาจเกิดอัคคีภัยได้
4.ขั้วหลอดต้องแน่นและไม่มีรอยไหม้ที่พลาสติกขาหลอด
5.ไม่นำวัสดุที่ติดไฟง่าย เช่น ผ้า กระดาษ ปิดคลุมหลอดไฟฟ้า
6.ถ้าหลอดขาดหรือชำรุดบ่อย ให้ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าว่าสูงผิดปกติหรือไม่ ถ้าพบผิดปกติให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงทันที
7.ถ้าโคมไฟเป็นโลหะและอยู่ในระยะที่จับต้องได้ควรติดตั้งสายดินด้วย มิฉะนั้นจะต้องเป็นประเภทฉนวน 2 ชั้น
8.หลอดไฟที่ขาดแล้วควรใส่ไว้ตามเดิมจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่
9.หลอดไฟขนาดเล็กที่ใช้ให้แสงสว่างตามทางเดินตลอดคืนซึ่งใช้เสียบกับเต้ารับนั้น อาจมีปัญหาเสียบไม่แน่นจนเกิดความร้อนและไฟไหม้ได้ นอกจากนี้วัสดุที่ใช้มักมีคุณภาพต่ำ ไม่ทนทานต่อความร้อน จึงไม่แนะนำให้ใช้ หรือเสียบทิ้งไว้โดยไม่มีผู้คนดูแล หากจะใช้ก็ไม่ควรมีวัสดุติดไฟได้อยู่ใกล้ๆ
10.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
5.2โทรทัศน์
ประเภทของเครื่องรับโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โทรทัศน์ขาวดำ และโทรทัศน์สีซึ่งมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีรีโมทคอนโทรล กับไม่มีรีโมทคอนโทรล โดยทั่วไปโทรทัศน์สีจะกินไฟมากกว่าโทรทัศน์ขาวดำประมาณ 1-3 เท่า และโทรทัศน์สีที่มีรีโมทคอนโทรลจะกินไฟมากกว่าโทรทัศน์สีที่ไม่มีรีโมทคอนโทรลที่มีขนาดเดียวกัน
เพราะมีวงจรเพิ่มเติม และกินไฟตลอดเวลาถึงแม้จะไม่ใช้ เครื่องรีโมทคอนโทรลก็ตาม โทรทัศน์ขนาดใหญ่ก็จะกินไฟมากกว่าขนาดเล็ก
วิธีใช้เครื่องรับใช้โทรทัศน์ให้ประหยัดพลังงาน คือ
1.ควรเลือกดูรายการเดียวกัน
2.ปิดเมื่อไม่มีคนดู
3.ถอดปลั๊กเมื่อไม่ได้ใช้งาน นอกจากจะกินไฟแล้วโทรทัศน์จะชำรุดได้ง่ายด้วย
4.ถ้าผู้ใช้นอนหลับหน้าโทรทัศน์บ่อยๆ ควรติดสวิตช์ตั้งเวลาเพิ่ม
คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้โทรทัศน์
1.ควรติดตั้งเสาอากาศให้มั่นคงแข็งแรง แล้วยึดด้วยลวดไม่ต่ำกว่า 3 จุด เพื่อป้องกันไม่ให้เสาล้มไม่ควรติดตั้งเสาอากาศทีวีให้สูงเกินความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงฟ้าผ่าลงที่เสา นอกจากนี้ควรให้เสาห่างจากแนวสายไฟฟ้าแรงสูงเพื่อไม่ให้เสาล้มพาดสายแรงสูงและเกิดอันตรายได้
2.อย่าเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ในขณะที่ตัวเปียกชื้น และไม่ควรจับเสาอากาศโทรทัศน์ด้วย
3.ให้ปิดโทรทัศน์ ถอดปลั๊กไฟและขั้วสายอากาศออกในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง เพื่อป้องกันโทรทัศน์ชำรุด
4.อย่าดูโทรทัศน์ใกล้เกินไปจะทำให้สายตาเสีย หรือได้รับรังสี และคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากเกินไป
5.วางโทรทัศน์ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
6.อย่าถอดซ่อมด้วยตัวเอง เนื่องจากภายในมีระบบไฟฟ้าแรงสูงอยู่ด้วย
7.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
5.3ตู้เย็น
การซื้อตู้เย็นนอกจากจะต้องคำนึงถึงราคาแล้ว ควรจะพิจารณาถึงลักษณะและระบบของตู้เย็น เพื่อประหยัดพลังงานดังต่อไปนี้
1.ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่มีสลากประหยัดไฟ โดยเป็นสติ๊กเกอร์ติดอยู่ที่ตู้เย็น ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพโดยกำหนดเป็นตัวเลขดังนี้
เลข 5 ดีมาก หมายถึง ประสิทธิภาพสูงสุด
เลข 4 ดี หมายถึง ประสิทธิภาพสูง
เลข 3 ปานกลาง หมายถึง ประสิทธิภาพปานกลาง
เลข 2 พอใช้ หมายถึง ประสิทธิภาพพอใช้
เลข 1 ต่ำ หมายถึง ประสิทธิภาพต่ำ
2.ควรพิจารณาขนาดให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว ขนาดประมาณ 2.5 ลูกบาศก์ฟุต (คิว) สำหรับสมาชิด 2 คนแรกของครอบครัว แล้วเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต ต่อ 1 คน
3.ควรเลือกตู้เย็นที่มีฉนวนกันความร้อนหนา และเป็นชนิดโฟมอัด เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียความเย็นมาก
4.ตู้เย็น 2 ประตูกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดความจุเท่ากัน เนื่องจากใช้ท่อน้ำยาเย็นที่ยาวกว่า แต่ตู้เย็น 2 ประตู จะมีการสูญเสียความเย็นน้อยกว่า
5.ตู้เย็นชนิดที่ไม่มีน้ำแข็งจับจะกินไฟมากกว่าชนิดที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็ง
6.ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 220-230 โวลต์เท่านั้น ถ้าใช้ชนิด 110-120 โวลต์จะต้องใช้หม้อแปลงลดแรงดันทำให้เกิดไฟมากขึ้น
วิธีใช้ตู้เย็นให้ประหยัดพลังงาน
1.ก่อนใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำ
2.ตั้งไว้ในที่เหมาะสม ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร
3.อย่าตั้งใกล้แหล่งความร้อน ไม่ควรตั้งอยู่ใกล้เตาไฟ หรือแหล่งความร้อนอื่น และไม่ควรให้โดนแสงแดด
4.ปรับระดับให้เหมาะสม เวลาตั้งตู้เย็นให้ปรับระดับด้านหน้าของตู้เย็นสูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย เพื่อเวลาปิดน้ำหนักของประตูตู้เย็นจะถ่วงให้ประตูปิดเข้าไปเอง
5.หมั่นตรวจสอบยางขอบประตู ไม่ให้มีรอยรั่วหรือเสื่อมสภาพ
6.อย่าเปิดตู้เย็นบ่อยๆ เมื่อเปิดแล้วต้องรีบปิด
7.ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ เพื่อให้การทำความเย็นมีประสิทธิภาพสูง
8.ถอดปลั๊ก กรณีไม่อยู่บ้านหลายวันหรือไม่มีอะไรในตู้เย็น
คำแนะนำด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับตู้เย็น
1.ควรติดตั้งระบบสายดินกับตู้เย็นผ่านทางเต้าเสียบ – เต้ารับที่มีสายดิน
2.ใช้ไขควงลองไฟตรวจสอบตัวตู้เย็นว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ตู้เย็นที่ไม่มีสายดินนั้นการกลับขั้วที่ปลั๊กอาจทำให้มีไฟรั่วน้อยลงได้
3.ตู้เย็นที่ดีควรจะมีสวิตช์อัตโนมัติปลดออกและสับเองด้วยการหน่วงเวลาเมื่อมีไฟดับ – ตก มิฉะนั้นจะต้องถอดปลั๊เข้าอีกครั้งเมื่อไฟมาปกติแล้ว 3-5 นาที
4.หลอดไฟในตู้เย็นถ้าขาด ไม่ควรเอาหลอดออกจนกว่าจะมีหลอดใหม่มาเปลี่ยน
5.อย่าปล่อยให้พื้นบริเวณประตูตู้เย็นเปียก เพราะอาจเป็นสื่อไฟฟ้าอย่างดีให้ปูด้วยพรมหรือพื้นยางก็ได้ ส่วนบริเวณมือจับก็ควรมีผ้าหรือฉนวนหุ้มด้วย
6.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
5.4 เครื่องปรับอากาศ
1.ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีสลากประหยัดไฟ โดยเป็นสติ๊กเกอร์ติดอยู่ที่เครื่องปรับอากาศซึ่งสำนังานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพโดยกำหนดเป็นตัวเลขดังนี้
เลข 5 ดีมาก หมายถึง ประสิทธิภาพสูงสุด
เลข 4 ดี หมายถึง ประสิทธิภาพสูง
เลข 3 ปานกลาง หมายถึง ประสิทธิภาพปานกลาง
เลข 2 พอใช้ หมายถึง ประสิทธิภาพพอใช้
เลข 1 ต่ำ หมายถึง ประสิทธิภาพต่ำ
2.ควรเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่ต้องการจะติดตั้ง โดยที่ความสูงของห้องไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกขนาดตามตารางต่อไปนี้
พื้นที่ห้องตามความสูง ไม่เกิน 3 ม. (ตร.ม.) |
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ (บีทียู / ชั่วโมง) |
13-14 16-17 20 23-24 30 40 |
7000-9000 9000-12000 11000-13000 13000-16000 18000-20000 24000
|
3.ชนิดของเครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้ในบ้านอยู่อาศัย ในปัจจุบันมีจำหน่ายในท้องตลาด 3 ชนิด คือ
3.1ชนิดติดหน้าต่าง จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะที่ติดตั้งวงกบหน้าต่าง ติดกระจกช่องแสงติดตาย บานกระทุ้ง บานเกล็ด เป็นต้น มีขนาดตั้งแต่ 9,000-24,000 บีทียู/ชม. มีค่าประสิทธิภาพ (EER = บีทียู/ชั่วโมง/วัตต์) ตั้งแต่ 7.5-10 บีทียู/ชม./วัตต์
3.2ชนิดแยกส่วนติดฝาผนังหรือแขวน เหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะทึบจะติดตั้งได้สวยงาม แต่จะมีราคาแพงกว่า เมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่างๆ ที่มีขนาดเท่ากัน (บีทียู/ชม.) เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วยใหญ่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า และจะมีสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติแบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับควบคุมอุณหภูมิความเย็นของห้อง มีขนาดตั้งแต่ 8,000-24,000 บีทียู/ชม. ค่า EER ตั้งแต่ 7.5-13 บีทียู/ชม./วัตต์
3.3เครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วนตั้งพื้น จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะห้องที่เป็นกระจกทั้งหมด ผนังทึบซึ่งไม่อาจเจาะช่องเพื่อติดตั้งได้ เมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่างๆ ที่มีขนาดเท่ากัน เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า มีขนาดตั้งแต่ 12,000-36,000 บีทียู/ชม. มีค่า EER ตั้งแต่ 6-11 บีทียู/ชม./ วัตต์
วิธีใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดพลังงาน
1.ติดตั้งในที่เหมาะสม คือต้องสูงจากพื้นพอสมควร สามารถเปิด-ปิดปุ่มต่างๆ ได้สะดวก และเพื่อให้ความเย็นเป่าออกจากเครื่องได้หมุนเวียนภายในห้องอย่างทั่วถึง
2.อย่าให้ความเย็นรั่วไหล ควรจะปิดประตูหรือหน้าต่างห้องให้มิดชิด
3.ปรับปุ่มต่างๆ ให้เหมาะสม เมื่อเริ่มเปิดเครื่องควรตั้งความเร็วพัดลมไปที่ตำแหน่งสูงสุด เมื่อความเย็นพอเหมาะแล้วให้ตั้งไปที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส
4.หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศและตะแกรง รวมทั้งชุดคอมเดนเซอร์ เพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวกจะประหยัดไฟโดยตรง
5.ใช้พัดลมระบายอากาศเท่าที่จำเป็น
6.ควรปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้
7.ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
8.หมั่นตรวจสอบ ล้าง ทำความสะอาดตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด
9.หน้าต่างหรือบานกระจกควรป้องกันรังสีความร้อนที่จะเข้ามาดังนี้
**ใช้อุปกรณ์บังแดดภายนอกมิให้กระจกถูกแสงแดด เช่น ผ้าใบ หรือแผงบังแดด หรือร่มเงาจากต้นไม้
**ใช้กระจกหรือติดฟิล์มที่สะท้อนรังสีความร้อน
**ใช้อุปกรณ์บังแดดภายใน เช่น ผ้าม่าน มู่ลี่ (กระจกด้านทิศใต้ให้ใช้ใบอยู่ในแนวนอน กระจกทิศตะวันออก-ตกให้ใช้ใบที่อยู่ในแนวดิ่ง)
10.ผนังหรือเพดานโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านที่มีแสงแดดส่องจะเก็บความร้อนไว้มาก ทำให้มีการสูญเสียพลังงานมาก จึงควรป้องกันดังนี้
**บุด้วยฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นฟิล์มอะลูมิเนียมสะท้อนรังสีความร้อน
**ทำที่บังแดด/หลังคา/ปลูกต้นไม้ด้านนอก
11.พยายามอย่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ไฟส่องสว่างก็เป็นตัวให้ความร้อน จึงควรปิดไฟเมื่อไม่มีความจำเป็น
12.ชุดคอนแดนเซอร์ที่ใช้ระบายความร้อนสู่ภายนอก
**ควรถูกแสงแดดให้น้อยที่สุด
**ขจัดสิ่งกีดขวางทางลมให้ระบายอากาศได้สะดวก
**อย่าติดตั้งให้ปะทะกับลมธรรมชาติโดยตรง
คำแนะนำด้านความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศ
1.ติดตั้งระบบสายดินกับเครื่องปรับอากาศและทดสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟ
2.เครื่องตัดไฟรั่วขนาดไม่เกิน 30 mA. หากป้องกันวงจรของเครื่องปรับอากาศด้วย อาจมีปัญหาเครื่องตัดไฟรั่วทำงานบ่อยขึ้น ควรหลีกเลี่ยงโดยการแยกวงจรออก และใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 100 mA. ป้องกันอีกชั้นหนึ่ง
3.ติดตั้งเบรกเกอร์หรือสวิตช์อัตโนมัติและควบคุมวงจรโดยเฉพาะ
4.กรณีมีไฟตกหรือไฟดับ ถ้าไม่มีสวิตช์ปลดสับเองโดยอัตโนมัติต้องรีบปิดเครื่องทันทีก่อนที่จะมีไฟมา
![]() |
|||||||||||||
|